ผลการสร้างและการใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด เศรษฐศาสตร์เพื่อการดำรงชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนแม่หลวงอุปถัมภ์ไทยคีรี

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด เศรษฐศาสตร์เพื่อการดำรงชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด เศรษฐศาสตร์เพื่อการดำรงชีวิต และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด เศรษฐศาสตร์เพื่อการดำรงชีวิต ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนแม่หลวงอุปถัมภ์ไทยคีรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 31 คน

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด เศรษฐศาสตร์เพื่อการดำรงชีวิต จำนวน 12 เล่ม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด เศรษฐศาสตร์เพื่อการดำรงชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 วิธีดำเนินการ ผู้วิจัยได้ทดสอบก่อนเรียน ดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม ทั้งหมด 12 เล่ม ทำแบบฝึกหัดระหว่างเรียน และทดสอบหลังเรียน สอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อหนังสืออ่านเพิ่มเติม แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยใช้สถิติ ได้แก่ การหาประสิทธิภาพ (E1/E2) ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (μ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ)

ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ 1. ประสิทธิภาพของหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด เศรษฐศาสตร์เพื่อการดำรงชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนแม่หลวงอุปถัมภ์ไทยคีรี มีประสิทธิภาพโดยภาพรวมเท่ากับ 86.75/85.27 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ 80/80 2. ผลการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังการใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด เศรษฐศาสตร์เพื่อการดำรงชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนแม่หลวงอุปถัมภ์ไทยคีรี พบว่า คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน จากคะแนนเต็ม 40 คะแนน ทดสอบก่อนเรียนได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 12.97 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 32.42 คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 36.35 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 90.89 และคะแนนความก้าวหน้า ได้เท่ากับ 22.38 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 58.47 3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด เศรษฐศาสตร์เพื่อการดำรงชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนแม่หลวงอุปถัมภ์ไทยคีรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (μ = 4.94, σ = 0.21)