วันที่ 23 พฤศจิกายน 2565 นายจรัญ แจ้งมณี ผอ.สพป.เชียงราย เขต 1 ร่วมในพิธีรับมอบ โครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียน ปีที่ 23 โดยมูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท ร่วมกับหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ สนับสนุนให้กับโรงเรียนในสังกัด สพฐ. ที่ได้รับการคัดเลือกเพิ่มในปีนี้จำนวน 5 โรงเรียนให้นักเรียนได้มีอาหารอิ่มท้อง ได้รับการพัฒนาทั้งด้านการเรียนการสอนและทักษะอาชีพ ได้แก่ ร.ร.บ้านนางแลใน ต.นางและ ร.ร.เวียงห้าววิทยา ต.เวียงห้าว อ.พาน จ.เชียงราย ร.ร.ชุมชนบ้านศรีดอนชัย ต.ศรีดอนชัย อ.เชียงของ จ.เชียงราย ร.ร.ประชารัฐวิทยาคาร ต.ทุ่งแล้ง อ.ลอง จ.แพร่ และร.ร.ตำรวจตระเวนชายแดนบ้านโป่งตะแบก ต.พุทธบาท อ.ชนแดน จ.เพชรบูรณ์ โรงเรียนๆ ละ 350,000 บาท รวมกว่าหนึ่งล้านห้าแสนบาท โดยมี นางสุภาพรรณ หมั่นเจริญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ประธานในพิธี Mr. โนริอากิ ยามาชิตะ รองประธานหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ นางสาวสุทธิชารัชต์ คำสองสีภัคนนท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการอบรมและการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารไปเผยแพร่ เป็นตัวแทนของ สพฐ. นายจอมกิตติ ศิริกุล กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิเจริญ โภค ภัณฑ์ พัฒนา ชีวิต ชนบท ร่วมกันทำพิธีรับมอบ ในพื้นที่โรงเรียนบ้านนางแลใน มีนายศราวุธ ธนาคำ เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน เป็นสถานที่จัดงาน ท่ามกลางแขกผู้มีเกียรติ ข้าราชการ ผู้นำท้องที่และท้องถิ่น คณะครู นักเรียน ผู้ปกครอง ประชาชนจำนวนมาก ณ โรงเรียนบ้านนางแลใน ต.นางแล อ.เมือง จ.เชียงราย
มูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท ก่อตั้งขึ้นในวโรกาสที่ในหลวง รัชกาลที่ 9 ทรงมีพระชนมพรรษา ครบรอบ 60 พรรษา ในปี 2530 เพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อม รับแนวพระราชดำริด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ด้อยโอกาส ในพื้นที่ชนบทห่างไกล มาดำเนินการ “ตามรอยใต้เบื้องพระยุคลบาท ” มีเป้าหมาย ” มุ่งสร้าง 4 ดี และการ พัฒนา 4 ด้าน ” คือ การมุ่งสร้าง คนดี พลเมืองดี การมุ่งสร้าง อาชีพดี และการปกป้องรักษา ในปี 2532 มูลนิธิฯ ร่วมกับ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร ( หรือ CPF ) ได้น้อมนำแนวดำริ ของ กรมสมเด็จพระเทพฯ มาดำเนินโครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันสิ่งแวดล้อมให้ดีเพื่อสร้างเสริมภาวะ โภชนาการที่ดีแก่เด็กนักเรียนในพื้นที่ห่างไกล ดำเนิน โครงการอย่างต่อเนื่องปัจจุบัน มีโครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียน ทั่วประเทศ แล้วกว่า 930 โรงเรียน มีนักเรียนที่ได้บริโภคไข่ไก่จากโครงการนี้ในทุกๆ วันกว่า 180,000 คน ได้รับการส่งเสริม การเรียนรู้จากการปฏิบัติให้แก่นักเรียน และคุณครู ตลอดจนถึงการถ่ายทอดองค์ความรู้ และการบริหารจัดการโครงการ โดยนักวิชาการจาก CPF และในปี 2543 เป็นปีที่มีความสำคัญอีกครั้งหนึ่ง ในการที่ หอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ ได้เข้ามาร่วมสนับสนุนโครงการ ฯ นับมาจนถึงวันนี้ เข้าสู่ปีที่ 23 รวม 142 โรงเรียน