สพป.ชร.1 ขับเคลื่อนโครงการสร้างโอกาสและลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในระดับพื้นที่พัฒนาโรงเรียนในพื้นที่สูงในถิ่นทุรกันดาร

วันที่ 19 พฤษภาคม 2566 นายอาวุทธ์ ขันสิงห์เพชร รอง ผอ.สพป.เชียงราย เขต 1 เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการรับผิดชอบโครงการพัฒนาการจัดการศึกษาโรงเรียนที่ตั้งในพื้นที่ลักษณะพิเศษ พื้นที่สูงในถิ่นทุรกันดาร สังกัด สพป.เชียงราย เขต 1 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ครั้งที่ 1/2566 ตามโครงการสร้างโอกาสและลดความเหสื่อมล้ำทางการศึกษาในระดับพื้นที่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 -2566 ให้กับโรงเรียนในสังกัด 10 แห่งตามที่ สพฐ.กำหนดมาให้โดยมีแนวทางการพัฒนา “การศึกษาขั้นพื้นฐานวิถีใหม่ วิถีคุณภาพ” ใน 4 ด้านได้แก่ ด้านความปลอดภัย ด้านโอกาส ด้านคุณภาพ และด้านประสิทธิภาพ ณ ห้องประชุมพวงชมพู สพป.เชียงราย เขต 1 ต.เวียง อ.เมือง จ.เชียงราย

โครงการในปัจจุบันได้ดำเนินการต่อยอดโดยมุ่งเน้นการพัฒนาใน 4 ด้าน ประกอบด้วย 1) การพัฒนาทักษาะวิชาการ ได้แก่ การจัดการเรียนรู้ที่เน้นสมรรถนะ และกระบวนการเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมืองและศีลธรรม ส่งเสริมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์ Soft Power ให้เหมาะสมตามวัยของนักเรียน รวมทั้งให้ความสำคัญการแก้ปัญหาการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ ผ่านกระวนการเรียนการสอนที่เน้นให้นักเรียนมีส่วนร่วมและมีปฏิสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติที่หลากหลายรูปแบบ (Active Leaning) มุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาการเรียนรู้และสมรรถนะของนักเรียน (Assessment for Learning) 2) การพัฒนาทักษะชีวิต ได้แก่ การพัฒนานักเรียน ให้มีความสามารถในการเรียนรู้เท่าทันสื่อเทคโนโลยี คิดวิเคราะห์แก้ปัญหาและดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นปกติสุข โดยมีการพัฒนาในด้านทักษะทางสังคม (Soft skill) ทักษะการบริหารจัดการการเงินจัดการการเงินและการออม(Financial Literacy) ทักษะดิจิทัลและภาษาคอมพิวเตอร์ (Coding) และทักษะๆ ที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบันและอนาคต 3) การพัฒนาทักษะอาชีพ ได้แก่ กิจกรรที่มุ่งส่งเสริม จัดการเรียนรู้ และพัฒนาสมรรถนะอาชีพที่สอดคล้องกับความถนัด ความสนใจโดยการทบทวนทักษะที่จำเป็นสำหรับการทำงาน (Re-skill) เพื่อยกระดับทักษะให้ดีขึ้น (Up-skill) และการสร้างทักษะใหม่ที่สอดคล้องกับความต้องการ (New-skill) ให้นักเรียนมีทักษะพื้นฐานทางด้านอาชีพ ได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง ปรับประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพ ต่อยอดพัฒนาอาชีพได้ และ 4) การพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐานสำหรับโรงเรียนที่ตั้งในพื้นที่ลักษณะพิเศษ โดยเสริมสร้างระบบและกลไกในการดูแลความปลอดภัยนักเรียนด้วยระบบมาตรฐานความปลอดภัย กระทรวงศึกษาธิการ (MOE Safety Platform) พร้อมคุณภาพของนักเรียนโรงเรียนพื้นที่สูงในถิ่นทุรกันดารและโรงเรียนพื้นที่เกาะ